อลังการ”บ้านเก้าห้อง”
บ้านอาถรรพ์
บูรณกลับไปเป็นเหมือนอดีต
บ้านเก้าห้อง๑๕๐ปี
บ้านอาถรรพ์ของสุพรรณบุรี
บ้านเก้าห้องของ”ขุนช้าง”
บ้านเก้าห้องของ”ขุนกำแหง”
บ้านอาถรรพ์ แห่ง อ.”บางปลาม้า
บ้านเก้าห้อง ที่โด่งดังที่สุดในสยาม
บ้านเก้าห้อง ของ”ขุนกำแหง”
ต้นสกุล วงษ์(ศ)ทองดี,จันทร์ตรี,วงษ์(ศ)พันธุ์
(บุตรชายหญิง ๖ คน ใช้ ๓ นามสกุล)
กับ ..บ้านเก้าห้อง
ของ”ขุนช้าง”ในอดีต
***
“บ้านเก้าห้อง”ของ”ขุนช้าง”
สร้างเป็นเรือนหอ รอนาง”วันทอง”
ที่สมควร”อนุรักษ์”ไว้เป็นตำนานสุพรรณ
ตำนาน”บ้านเก้าห้อง”ของ”ขุนช้าง
มหาเศรษฐีเมืองสุพรรณ
ถึงตำนาน”บ้านเก้าห้อง”ของ”ขุนกำแหง”
ผู้นำไทยพวนจังหวัดสุพรรณบุรี
เรื่องของ”บ้านเก้าห้อง”มีในวรรณคดี
“ขุนช้างขุนแผน” ดังตอนที่ ๑๒
“นางศรีประจันต์ยกนางวันทองให้ขุนช้าง”
ตามประเพณีไทยโบราณการแต่งงานคือการออกเรือน
มีการสร้าง”เรือนหอ”
ขุนช้าง จึงรื้อเรือนหอ ของ”ขุนแผน”สร้างเรือนหอ ของตนใหม่
“เป็นหอใหญ่ขนาด”เก้าห้อง” ใหญ่โตเท่าวิหาร”
“ครานั้นจึงโฉมเจ้าขุนช้าง
ความสมัครรักนางไม่เชือนเฉย
สั่งบ่าวเหล่าช่างชำนาญเคย
ปรุงหอเร็วเหวยให้ทันการ
พวกช่างบ้างเรื่อยบ้างก็ถาก
โปกปากโผงผึงอึงทั้งบ้าน
*หอใหญ่”เก้าห้อง”ท้องกระดาน
เท่าวิหารจึงจะสมกับใจกู”
ตรงนี้”คำว่า”เก้าห้อง”ท้องกระดาน
ความหมายก็คือ มีช่องเสา๑๐เสาเป็น๙ช่องเสา
ไม่ได้หมายถึง สร้างบ้าน”ทำห้องเก้าห้อง”
ซึ่งตรงกับ”บ้านเก้าห้อง”ของ”ขุนกำแหง”
“หอเก้าห้อง”ของ”ขุนช้าง”ยังปรากฏในตอน
ตอนที่๑๔”ขุนแผนบอกกล่าว”เมื่อขุนแผนกลับมา
จากยกทัพไปศึกเชียงใหม่ ไม่เห็น”เรือนหอ”
ของตนที่ถูก”ขุนช้าง”รื้อไปถวายวัดกลาง
จึงให้ไปเชิญ”พันโชติ”ผู้นำหมู่บ้านมา ว่า
“เรากับวันทองครอบครองกัน
กี่เดือนกี่วันท่านแจ้งใจ
ครั้นเราไปทัพกลับลงมา
ก็หาเห็นหอห้องของเราไม่
*หอใหม่”เก้าห้อง”นี่ของใคร
ท่านรู้หรือไม่ให้ว่ามา”
สรุปได้ว่า การสร้าง”บ้านเก้าห้อง”แต่โบราณนั้น
ต้องเป็นผู้ร่ำรวยมหาเศรษฐีเพราะต้อง”ปรุงเสร็จ”ในวันเดียว
ใช้ฤกษ์ช่วงเช้าภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
ขุนแผนฐานะด้อยกว่าขุนช้างจึงสร้างเรือนหอห้าห้องเท่านั้น
ปัจจุบัน การสร้าง”เรือนขุนช้าง”ก็ต้องเป็นไปตาม
ที่วรรณคดีว่าไว้ คือ ต้อง”สร้างเป็นช่วงเสาเก้าห้อง”ถึงจะเรียกว่าเรือน”ขุนช้าง”แบบโบราณ
ที่ผ่านมาเห็นใช้แต่ชื่อ”บ้านขุนช้าง”แต่ไม่เป็นเก้าห้องก็มี
ปัจจุบันนี้ยังมีบ้านโบราณสืบสาน”ตำนานบ้านเก้าห้อง”
ของ”ขุนช้าง”ในจังหวัดสุพรรณบุรี ให้ทุกท่านที่สนใจ
ได้เข้าชมว่า”บ้านมหาเศรษฐี”เก้าห้องเป็นแบบไหน?
คือ”บ้านเก้าห้อง”ตรงข้ามตลาดเก้าห้อง”ของ”ขุนกำแหง”
ป้จจุบัน”คุณชูเกียรติ ประทีปทอง”เป็นผู้ครอบครอง
“ฐานะของท่านก็ร่ำรวยน้องๆ ขุนช้างเช่นกัน”ขอรับ
“บ้านเก้าห้อง”สืบสานตำนานบ้านมหาเศรษฐี
ที่หน้าตลาดเก้าห้อง อยู่ติดกับวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
“บ้านเก้าห้อง”
ที่มาของชื่อ”ตลาดเก้าห้อง
บ้านอาถรรพ์ ของชุมชนไทยพวน
อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี
บ้านเก้าห้อง หมายถึง อะไร?
ทำไมไฟไหม้ ถึง ๓ ครั้ง
ขุนกำแหง(วันดี)เป็นผู้นำของชุมชนบ้านเก้าห้อง
และเป็นผู้ก่อตั้งบ้านเก้าห้อง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งซ้าย
หรือทิศตะวันออกของแม่น้ำสุพรรณหรือแม่น้ำท่าจีน
มีบริเวณติดต่อปัจจุบันด้านทิศใต้ของวัดลานคา
ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
เหตุที่ขุนกำแหง(วันดี) เกี่ยวข้องกับบ้านเก้าห้อง
เพราะตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา และหลักฐานต่างๆ
โดยเฉพาะหลักฐานบันทึกของนายเกษม วงศ์พันธ์
ระบุว่า “ประวัติที่เรียกว่า บ้านเก้าห้อง มีดังนี้
ขุนกำแหง(วันดี)เป็นต้นตระกูล เดิมอยู่เมืองเชียงขวาง
อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน
อยู่ท้องที่ อ.บางปลาม้า
ปลูกบ้านอาศัยอยู่มี ๙ ห้อง ยาวเหยียด เอาประเพณีจาก
บ้านเดิมที่อยู่เมืองเชียงขวาง ต่อมาภายหลังบ้านที่ปลูกเก้าห้อง
ได้ผุพังจึงได้ปลูกใหม่เป็นบ้านปั้นหยาทำด้วยไม้ไผ่มี ๓ ห้อง
มี ๒ หลังหันหน้าชนกัน
ต่อมาได้เกิดไฟไหม้เผาผลาญจนหมดสิ้น จึงได้มีการสร้าง
บ้านขึ้นใหม่มี ๔ ห้อง ฝาบ้านทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะหลังคา
ทำด้วยจาก (มุงหลังคาด้วยจาก) ต่อมาเกิดไฟไหม้อีก
โดยไม่ทราบสาเหตุว่าไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
–
ขุนกำแหง(วันดี)เกิดความสงสัย จึงไปให้โหรทำนายว่า
เกิดขึ้นได้อย่างไร โหรทำนายไว้ว่า บ้านหลังนี้ต้องปลูก
ให้ได้ ๙ ห้อง และให้มีที่เคารพบูชาสำหรับชาวพวนในชุมชนนี้
ไว้หลังหนึ่งให้ชื่อว่า “ศาลปู่เจ้าย่าเมือง” จึงจะอยู่เย็นเป็นสุข
เมื่อขุนกำแหง(วันดี)ทำตามโหรทำนายไว้แล้ว ตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เหตุการณ์อันพิศดารต่างๆนั้นยังไม่เกิดขึ้นอีก
พอถึงปีก็มีประชาชนแถบนั้นมากราบไหว้ทุกปี ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์”
สำหรับการทำพิธีเคารพสักการะบูชาประจำปีมีการเซ่นไหว้
ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่”ศาลปู่เจ้าย่าเมือง”
จะจัดในวันแรม ๙ ค่ำ เดือน๙ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕
–
อนึ่ง ชื่อ “บ้านเก้าห้อง” มีความหมายสำคัญในชุมชนท้องถิ่นมาก
เพราะในเวลาต่อมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ตรงกับ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ได้มีการแบ่งมณฑลเทศาภิบาล เมื่อทางราชการได้ปรับระเบียบ
แบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค
ได้เรียกชื่อระดับหมู่บ้านของถิ่นพวนข้างต้นว่า “บ้านเก้าห้อง”
และเรียกชื่อระดับตำบลว่า “ตำบลเก้าห้อง”
(อ้างอิง: เอกสารโฉนดที่ดิน ๔๕๕ ตำบลเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า
แขวงเมืองสุพรรณบุรี และ โฉนดที่ดิน ๒๘๐ ตำบลเก้าห้อง
อำเภอบางปลาม้า แขวงเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งโฉนดทั้ง ๒ ฉบับราชการออก
ให้เมื่อ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๔๕๑
จึงได้ถือว่า ขุนกำแหง(วันดี)
เป็นต้นกำเนิดผู้นำแห่งบ้านเก้าห้องอย่างแท้จริง
—-
ครั้นเมื่อกาลเวลาผ่านไป ได้มีการปรับเปลี่ยนบ้านเก้าห้อง
เป็นฝากระดานไม้สัก แบบฝาปะกน และหลังคามุงกระเบื้อง
ซึ่งตามหลักฐานที่หลังคากระเบื้องระบุว่า “พ.ศ.๗๐”
ย่อมหมายถึงว่าได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องหลังคา(ครั้งล่าสุด)
เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
ฉะนั้น จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นประกอบหลักฐานทางเอกสารและวัตถุต่างๆ
ดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าการปลูกบ้านเป็นเรือนยาวขนาดเก้าห้อง
(คือมีช่องเสาสิบช่อง)
และเรียกชื่อชุมชนหมู่บ้านว่า “บ้านเก้าห้อง” ต้องมีมาก่อน
ปี ๒๔๓๕ อย่างแน่นอน ซึ่งนับจนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๖๓)
น่าจะมีอายุการตั้งหมู่บ้านเก้าห้องนี้มานานไม่น้อยกว่า ๑๕๐ ปี
ซึ่งมีรายละเอียด ๗ รุ่นสายสกุล ในหนังสือ”ขุนกำแหง”
โดย”ชูเกียรติ ประทีปทอง” ทายาทบ้านเก้าห้อง คนปัจจุบัน
ภาพ..
บ้านเก้าห้อง ปรับปรุงใหม่ยุค๒๕๖๓
โดยใช้ภาพจากความทรงจำของคุณชูเกียรติ ประทีปทองและพี่น้องชาวบ้านเก้าห้อง
ย้อนคืนสู่อดีตเมื่อร้อยกว่าปีก่อนที่จะต่อเติมหลังคาหน้าบ้านมีเพียงนอกชาน
กับทายาทผู้สืบสานตำนานบ้านเก้าห้องมิให้สาบสูญเป็นเพียงเรื่องเล่า
#หมายเหตุ วันเสาร์ที่๑๙ธันวาคม๒๕๖๓เวลา๑๐.๐๐น.
จะมีการทำบุญเลี้ยงศาลอุทิศส่วนกุศลแก่ปู่เจ้าย่าเมือง
และบรรพชนคนเก้าห้องสามารถเข้าไปถ่ายภาพได้ครับ
ขอสงวนสิทธิ์เข้าชมด้านในเพราะยังไม่เรียบร้อย
กราบขอบพระคุณทายาทบ้านเก้าห้อง
ที่อนุญาตให้ใช้สถานที่บ้านเก้าห้อง
เป็นที่รับรองเอกอัครัฐฑูต สปป.ลาว ที่จะมางานผ้าป่าชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทยที่สุพรรณบุรี








เรื่องที่เกี่ยวข้อง